4186 จำนวนผู้เข้าชม |
" วิธีคำนวณระยะเวลาของลิฟท์ดับเพลิง"
ห้ามใช้ลิฟต์ขณะเกิดเพลิงไหม้ นี่คือ คำเตือนหน้าโถงลิฟต์ เหนือปุ่มกดเรียกลิฟท์ อ้าว! แล้วลิฟท์พนักงานดับเพลิงจะใช้ได้อยู่ นั่นนะซิ ลองคิดดูชื่อก็บอกว่า ลิฟท์ดับเพลิง ก็ต้องเป็นพนักงานดับเพลิงใช้เท่านั้น แล้วก่อนใช้ต้องเข้าใจก่อนว่า ต้องโยกสวิทซ์ ไขกุญแจไปเป็นลิฟท์พนักงานดับเพลิง การทำงานจะเป็นคนควบคุมทั้งหมด ซึ่งปกติจะเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น กดปุ่มเปิด 1 ครั้ง แล้ว ประตูจะเปิดจนสุด แต่ขณะเป็นลิฟท์พนักงาน ดับเพลิง กดปุ่มเปิด 1 ครั้ง ประตูจะเปิดมาหน่อยแล้วหยุด พอถึงตรงนี้ขออธิบายหน่อย ว่าวิธีการ เปิด – ปิดตามใจคนควบคุม เพราะต้องการจะทราบว่า ชั้นนี้มีควันหรือไม่ ถ้าที่ชั้นนี้มีควันก็สามารถปิดได้เลยทันที พนักงานดับเพลิงจะปลอดภัยจากการสำลักควัน
ในการใช้งานจริงต้องกำหนดจำนวนลิฟต์ ตั้งแต่ในแนวตั้งมีกี่โซน แต่ละโซนในแนวนอนมีลิฟท์กี่ชุดต่อกลุ่มหรือที่เรียกว่า Group แต่ละ Cars Group มีลิฟท์กี่ขนาด ความจุกี่คนหรือกี่กิโลกรัมและความเร็วนี่แหละ ถึงจุดที่เราจะศึกษาไปด้วยกันแล้วว่า เลือกความเร็วเท่าใดสำหรับลิฟท์พนักงานดับเพลิง ส่วนการคำนวณหาจำนวนโซนกลุ่ม, ความจุ และความเร็ว ต้องอ้างอิงกับการคำนวณหา Average Interval Time และ 5 Minutes Handling Efficiency ในงานเขียนนี้จะไม่กล่าวถึงแต่จะกล่าวถึงในโอกาสต่อไป
การคำนวณระยะเวลาเคลื่อนที่ของลิฟท์ ดับเพลิง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) หมวดที่ 6 ระบบลิฟท์ ข้อ 44 (4) ระยะเวลาในการเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องของลิฟท์ดับเพลิง ชั้นล่างสุดถึงชั้นบนสุดของอาคาร ต้องไม่เกิน 1 นาที เราสามารถคำนวณอย่างไรได้